มุมมองทางการเมือง ของ มุมมองทางการเมืองของโนม ชอมสกี

ชอมสกีคุยกับรองประธานาธิบดีประเทศโบลิเวีย Alvaro Garcia Linera

ชอมสกีมักจะรู้จักในเรื่องการเมืองอเมริกันฝ่ายซ้าย แม้ว่าเขาจะไม่เห็นด้วยในการจัดเขาเช่นนั้นเขาเรียกตนเองว่าเป็น "ผู้ร่วมเดินทาง" ของลัทธิอนาธิปไตย และเรียกตนเองว่า นักสังคมนิยมแบบอิสรนิยม อันเป็นปรัชญาทางการเมืองที่เขาย่อว่า ท้าทายระบอบการปกครองทุกรูปแบบ และพยายามกำจัดพวกมันถ้าไร้เหตุผล โดยภาระการพิสูจน์ตกอยู่กับผู้พยายามใช้อำนาจผู้เดียวเขายังสนับสนุนแนวคิดสหการนิยมแบบอนาธิปไตยในบางเรื่อง และเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน Industrial Workers of the World ซึ่งเป็นสหภาพแรงงานแนวสังคมนิยมผสมอนาธิปไตยเขายังชอบใจทัศนคติของนักสังคมนิยมแบบอิสรนิยมในเรื่องเศรษฐศาสตร์แบบมีส่วนร่วม[2]โดยเป็นสมาชิกของคณะกรรมการชั่วคราวของ International Organization for a Participatory Society ด้วย[3]

เขาเชื่อว่า ค่านิยมของสังคมนิยมแบบอิสรนิยม เป็นแบบอย่างการขยายแนวคิดทางมนุษยนิยมทั้งแบบเสรีและแบบสุดโต่ง ซึ่งมาจากแนวคิดดั้งเดิมที่ไม่ได้ต่อเติมแก้ไข ที่สมเหตุสมผลและเสมอต้นเสมอปลายทางจริยธรรม ในบริบทของสังคมอุตสาหกรรม[4]

ชอมสกียังจัดตัวเองว่ามีความเชื่อร่วมกับขบวนการไซออนิสต์ ถึงแม้ว่าเขาจะให้ข้อสังเกตว่า นิยามของคำว่าไซออนิสต์ของเขา ทุกวันนี้คนอื่นอาจเรียกว่า แนวคิดต่อต้านไซออนิสต์ ซึ่งเขาเชื่อว่าเป็นผลของการเปลี่ยนความหมายของคำเริ่มตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1940

มีบุคคลบางพวกที่พิจารณาชอมสกีว่าเป็น "นักวิจารณ์ฝ่ายซ้ายเกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศสหรัฐที่มีอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่ง"[5]

เสรีภาพในการพูด

ชอมสกีได้ยืนหยัดต่อต้านการเซ็นเซอร์และสนับสนุนเสรีภาพในการพูด แม้ในเรื่องที่เขาประณามเขาได้กล่าวว่า

ในเรื่องของเสรีภาพการพูด มีจุดยืนหลัก ๆ แค่สองอย่าง คือ คุณปกป้องมันอย่างขยันขันแข็ง หรือว่าคุณปฏิเสธมันและยินดีมาตรฐานของลัทธิฟาสซิสต์หรือของสตาลิน[6]

การก่อการร้าย

เรื่องสำคัญที่สุดก็คือ โอบามากำลังปฏิบัติการก่อการร้ายที่ยิ่งใหญ่ที่สุด อาจจะในประวัติศาสตร์—  โนม ชอมสกี, พ.ศ. 2556[7]

เมื่อตอบสนองต่อการประกาศ "สงครามต่อต้านการก่อการร้าย" ของสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2524 และอีกครั้งในปี 2544 ชอมสกีอ้างว่า แหล่งสำคัญของกระบวนการก่อการร้ายนานาชาติมาจากประเทศมหาอำนาจ โดยมีรัฐบาลกลางสหรัฐเป็นแนวหน้าเขาใช้นิยามของ "การก่อการร้าย" จากคู่มือกองทัพบกสหรัฐ ซึ่งนิยามว่าเป็น "การใช้ความรุนแรงหรือการข่มขู่ด้วยความรุนแรงอย่างคำนวณผลได้ผลเสียเพื่อให้ถึงเป้าหมายทางการเมือง ทางศาสนา หรือทางอุดมคติซึ่งทำโดยการข่มขู่ การบีบบังคับ หรือการปลูกฝังความกลัว"[8]

เกี่ยวกับการรุกรานอัฟกานิสถานของสหรัฐ เขาได้กล่าวว่า

การสังหารพลเรือนผู้ไม่มีความผิดอย่างขาดความยับยั้งเป็นการก่อการร้าย ไม่ใช่เป็นสงครามต่อต้านการก่อการร้าย (หนังสือ 9-11 หน้า 76)[9]

เกี่ยวกับประสิทธิภาพของการก่อการร้าย

ประเด็นแรกก็คือความจริงว่า การก่อการร้ายได้ผล ไม่ใช่ไม่ได้ผล มันได้ผล ความรุนแรงปกติได้ผล นั่นแหละประวัติศาสตร์โลก ประเด็นที่สองก็คือ มันเป็นความผิดพลาดทางการวิเคราะห์อย่างฉกรรจ์ที่จะกล่าวดังที่ทำปกติโดยทั่วไปว่า การก่อการร้ายเป็นอาวุธของชนอ่อนแอ เหมือนกับวิธีการรุนแรงอื่น ๆ โดยหลักแล้ว มันเป็นอาวุธอย่างหนึ่งของชนที่มีกำลัง (และ) จริง ๆ อย่างท่วมท้น (แต่) มันจัดว่าเป็นอาวุธของชนอ่อนแอก็เพราะว่า ชนที่มีกำลังสามารถควบคุมระบบความคิด และการก่อการร้ายของพวกเขาจึงไม่จัดว่าเป็นการก่อการร้าย นี่มันเป็นเรื่องเกือบครอบจักรวาล (โดยที่) ผมไม่สามารถระลึกถึงเรื่องยกเว้นในประวัติศาสตร์ แม้แต่คนสังหารหมู่ที่ร้ายกาจที่สุดก็มองโลกเช่นนั้นเหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่นพวกนาซี พวกเขาไม่ได้ทำการก่อการร้ายในยุโรปที่ตนครอบครองอยู่ พวกเขาเพียงแต่ปกป้องประชาชนจากการก่อการร้ายของพวกกองโจร และเหมือนกับขบวนการต่อต้านอื่น ๆ ที่มีสิ่งที่เรียกว่า การก่อการร้าย พวกนาซีเพียงแต่ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้าย[10]

เกี่ยวกับการประณามการก่อการร้าย ชอมสกีเห็นว่า การก่อการร้าย (และความรุนแรงหรือการใช้อำนาจโดยทั่วไป) โดยทั่วไปไม่ดีและจะมีเหตุผลก็ในกรณีที่ชัดเจนว่า เป็นการหลีกเลี่ยงการก่อการร้าย (หรือความรุนแรงหรือการใช้อำนาจผิด ๆ) ที่ยิ่งใหญ่กว่าในการอภิปรายเรื่องความชอบธรรมของความรุนแรงทางการเมืองในปี 2510 ชอมสกีอ้างว่า "การก่อการร้าย" ของแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้ (เวียดกง) ไม่สมเหตุผล แต่ว่าการก่อการร้ายก็ยังสามารถสมเหตุผลตามทฤษฎีภายใต้สถานการณ์บางอย่าง

ผมไม่ยอมรับทัศนคติว่า เราสามารถประณามการก่อการร้ายของเวียดกงอย่างไม่มีเงื่อนไขด้วยเหตุว่ามันแย่มาก ผมคิดว่า เราต้องถามคำถามเรื่องราคาโดยเปรียบเทียบ แม้ว่านั่นอาจจะฟังดูอุจาด และถ้าเราจะต้องมีจุดยืนทางจริยธรรมในเรื่องนี้ และผมคิดว่าเราควรจะมี เราต้องถามถึงทั้งผลของการใช้การก่อการร้ายและการไม่ใช้การก่อการร้าย ถ้ามันจริงว่าผลของการไม่ใช้การก่อการร้ายก็คือ พวกคนเบี้ยล่างในเวียดนามก็จะดำรงการมีชีวิตเป็นเบี้ยล่างเหมือนคนในฟิลิปปินส์ต่อไป ผมคิดว่าการใช้การก่อการร้ายก็จะสมเหตุผล แต่ดังที่ผมเคยกล่าวแล้ว ผมไม่คิดว่า การใช้การก่อการร้ายของเวียดกงนำไปสู่ผลสำเร็จ[11]

ชอมสกีเชื่อว่า ปฏิบัติการของรัฐบาลสหรัฐที่เขาพิจารณาว่าเป็นการก่อการร้าย ก็ไม่ผ่านเกณฑ์การทดสอบเช่นนี้ และดังนั้น การประณามนโยบายต่างประเทศสหรัฐจึงเป็นเรื่องหลักอย่างหนึ่งในวรรณกรรมของเขา ดังที่เขาอธิบายว่า เพราะว่าเขาใช้ชีวิตอยู่ในสหรัฐอเมริกาและดังนั้น จึงมีส่วนรับผิดชอบต่อการกระทำของประเทศ[12]

การวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลสหรัฐ

ถ้าได้ใช้กฎหมายเนือร์นแบร์ค ประธานาธิบดีอเมริกันหลังสงครามก็จะถูกแขวนคอทุกคน—  โนม ชอมสกี (ประมาณคริสต์ทศวรรษ 1990)[13]

ชอมสกีเป็นนักวิจารณ์ที่คงเส้นคงวาอย่างเปิดเผยต่อรัฐบาลกลางสหรัฐ และการวิพากษ์วิจารณ์นโยบายต่างประเทศของสหรัฐเป็นประเด็นส่วนมากในวรรณกรรมทางการเมืองของเขาชอมสกีได้ให้เหตุผลที่เขาเล็งพยายามปฏิบัติต่อต้านรัฐที่เขาเป็นพลเมืองคือ เขาเชื่อว่า งานเขามีผลกระทบดีกว่าเมื่อเล็งที่รัฐบาลของตนเอง และเขาก็มีส่วนรับผิดชอบในฐานะสมาชิกของประเทศอันเป็นบ้านเกิด เพื่อหยุดประเทศนั้นไม่ให้ทำอาชญากรรมเขาแสดงไอเดียนี้บ่อย ๆ โดยเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ที่อ้างว่า ทุกประเทศยืดหยุ่นได้เพื่อจัดการอาชญากรรมที่ทำโดยประเทศศัตรู แต่จะไม่ยอมรับข้ออ้างนั้นถ้าเกิดกับตนเอง

ในปาฐกถาที่ประเทศนิการากัวปี 2529 มีคนถามเขาว่า "พวกเรารู้สึกว่า ตามที่คุณพูดและเขียน คุณเป็นเพื่อนของเรา แต่ในเวลาเดียวกัน คุณก็พูดถึงจักรวรรดินิยมของอเมริกาเหนือและของรัสเซียในประโยคเดียวกันผมขอถามคุณว่า คุณสามารถใช้เหตุผลเดียวกันได้อย่างไรในฐานะคนขวาจัด (reactionaries)" ซึ่งชอมสกีได้ตอบว่า

ผมเคยถูกกล่าวหาแทบทุกอย่าง รวมทั้งความเป็นคนขวาจัด จากประสบการณ์ส่วนตัวแล้ว มีประเทศสองประเทศที่วรรณกรรมทางการเมืองของผมโดยทั่วไปจะไม่สามารถปรากฏ หนึ่งก็คือสหรัฐอเมริกาภายในสื่อกระแสหลักโดยมีข้อยกเว้นที่น้อยมาก ๆ อีกประเทศก็คือสหภาพโซเวียต ผมคิดว่า สิ่งที่เราควรทำก็คือพยายามเข้าใจความจริงเกี่ยวกับโลก และความจริงเกี่ยวกับโลกปกติมักจะไม่น่ายินดีเลย ความเป็นห่วงของผมโดยหลักเป็นเรื่องการก่อการร้ายและความรุนแรงที่ปฏิบัติโดยประเทศของผม โดยเหตุผลสองอย่าง อย่างแรกก็คือ เพราะมันปรากฏว่าเป็นองค์ประกอบใหญ่ของความรุนแรงระดับนานาชาติ แต่ก็เพราะเหตุผลที่สำคัญกว่านั้นอีกด้วย ซึ่งก็คือ ผมสามารถทำอะไรได้ ดังนั้น แม้สมมุติว่าสหรัฐเป็นเหตุความรุนแรงในโลกเพียงแค่ 2% แทนที่จะเป็นเหตุโดยมาก ก็จะเป็นส่วน 2% ที่ผมจะรับผิดชอบโดยหลัก และนั่นเป็นดุลยพินิจทางจริยธรรมล้วน ๆ ซึ่งก็คือ คุณค่าทางจริยธรรมของการกระทำของบุคคล จะขึ้นอยู่กับผลที่คาดหวังหรือพยากรณ์ได้ของการกระทำเหล่านั้น มันง่ายที่จะประณามความโหดร้ายของคนอื่น แต่นั่นมีคุณค่าทางจริยธรรมเท่ากับการประณามความโหดร้ายที่เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 18

จุดสำคัญก็คือปฏิบัติการทางการเมืองที่มีประโยชน์และมีความหมาย จะเป็นปฏิบัติการที่มีผลต่อมนุษย์ และนั่นอย่างขาดลอยก็คือปฏิบัติการที่คุณมีอิทธิพลหรือควบคุมได้ ซึ่งสำหรับผม นั่นก็คือการกระทำของรัฐบาลอเมริกัน แต่ผมก็ยังมีส่วนกับการประท้วงจักรวรรดินิยมโซเวียต และกับการอธิบายรากฐานของมันในสังคมโซเวียต และผมคิดว่า ใครก็ตามในโลกที่สามที่ตกอยู่ใต้ความเข้าใจผิดในเรื่องเหล่านี้ ก็จะเป็นผู้ที่กำลังผิดพลาดอย่างมหันต์[14]

เขายังยืนยันด้วยว่า สหรัฐอเมริกา ในฐานะเป็นประเทศอภิมหาอำนาจที่คงอยู่ประเทศเดียวในโลก ก็ปฏิบัติตัวแบบน่ารังเกียจเหมือนกับอภิมหาอำนาจทั้งหมดชอมสกีอ้างว่า การกระทำกุญแจหลักของอภิมหาอำนาจอย่างหนึ่งก็คือ พยายามจัดโลกให้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของสถาบันของตน โดยใช้กำลังทางทหารและเศรษฐกิจเขาเน้นบ่อย ๆ ว่า โครงสร้างทั่วไปของนโยบายต่างประเทศสหรัฐ มีเหตุจากผลประโยชน์ของธุรกิจสหรัฐที่มีอำนาจครอบงำทางการเมือง และจากการผลักดันเพื่อสร้างความมั่นคงให้ระบบทุนนิยมแบบแทรกแซงโดยรัฐ (state capitalism)ธุรกิจเหล่านี้เป็นผู้กำหนดประเด็นทางการเมืองและเป้าหมายทางเศรษฐกิจ ที่เล็งความเป็นเจ้าทางเศรษฐกิจของสหรัฐเป็นหลัก[15]

เขาสรุปว่า ความคงเส้นคงวาหนึ่งของนโยบายต่างประเทศสหรัฐก็คือการตัดรากถอนโคน "ภัยจากตัวอย่างที่ดี"[16]โดย "ภัย" หมายถึงโอกาสที่ประเทศหนึ่ง ๆ จะสามารถพัฒนาขึ้นนอกระบบโลกที่สหรัฐเป็นผู้บริหาร และดังนั้น จะเป็นตัวอย่างให้ประเทศอื่น ๆ รวมทั้งประเทศที่สหรัฐมีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างมากชอมสกีกล่าวว่า นี่ทำให้สหรัฐแทรกแซงบ่อย ๆ เพื่อยุติ "พัฒนาการที่เป็นอิสระ ไม่ว่าจะเป็นอุดมการณ์เช่นใด" ในเขตต่าง ๆ ของโลก แม้ว่าตนแทบจะไม่มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจหรือความมั่นคงเลยในหนังสือ สิ่งที่ลุงแซมต้องการจริง ๆ (What Uncle Sam Really Wants) ชอมสกีอ้างว่า สันนิษฐานนี้สามารถอธิบายการแทรกแซงของสหรัฐใน ประเทศกัวเตมาลา ลาว นิการากัว และเกรเนดา อันไม่เป็นภัยทางทหารต่อสหรัฐ และมีทรัพยากรทางเศรษฐกิจที่ไม่สำคัญต่อสถาบันของสหรัฐ[17]

ชอมสกีอ้างว่า นโยบายสงครามเย็นสหรัฐไม่ได้เป็นไปตามความหวาดระแวงต่อโซเวียตเป็นหลัก แต่เพื่อพิทักษ์ความเป็นเจ้าทางอุดมการณ์และเศรษฐกิจในโลกในหนังสือ การขัดขวางประชาธิปไตย (Deterring Democracy) เขาอ้างว่า ความเข้าใจสงครามเย็นว่าเป็นการเผชิญหน้าระหว่างอภิอำนาจสองประเทศ ความจริงเป็นเรื่องสมมุติตามอุดมการณ์[18]เขายืนยันว่า เพื่อให้เข้าใจสงครามเย็นได้จริง ๆ ก็จะต้องตรวจสอบแรงดลใจของประเทศอภิมหาอำนาจต่าง ๆซึ่งทำได้โดยวิเคราะห์การเมืองภายในประเทศ โดยเฉพาะความต้องการของอภิสิทธิชนในแต่ละประเทศ

โดยยังไม่สนใจความซับซ้อนในระดับทุติยภูมิก่อน สำหรับสหภาพโซเวียต สงครามเย็นนั้นทำกับประเทศบริวารของตนเอง และสำหรับสหรัฐ เป็นสงครามกับประเทศโลกที่สาม สำหรับทั้งสอง เป็นการฝังรากระบบอภิสิทธิ์และการบีบบังคับในแต่ละประเทศโดยเฉพาะ ๆ นโยบายที่รัฐบาลทำตามในช่วงสงครามเย็นเป็นสิ่งที่ไม่ดึงดูดใจต่อประชาชนทั่วไป เพียงแต่ยอมรับมันภายใต้การบีบบังคับ ตลอดประวัติศาสตร์ เครื่องมือแบบฉบับที่ใช้ระดมใจประชาชนที่ไม่เต็มใจ ก็คือความหวาดกลัวต่อศัตรูชั่วร้ายที่มุ่งทำลายตน ความขัดแย้งระหว่างอภิมหาอำนาจจึงได้ทำหน้าที่นี้อย่างพอดีเหมาะเจาะ เพื่อจุดประสงค์ภายใน ดังที่เราเห็นเป็นคารมเร้าใจในเอกสารแผนงานระดับสูงสุดของรัฐบาลเช่น NSC-6868 (เอกสารนโยบายลับสุดยอดปี 2493 ของรัฐบาลประธานาธิบดีแฮร์รี เอส. ทรูแมน) และในการโฆษณาชวนเชื่อที่สื่อแก่มวลชน สงครามเย็นจึงมีประโยชน์ต่ออภิมหาอำนาจ ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งว่าทำไมมันจึงคงอยู่ได้[19]

ชอมสกีกล่าวว่า เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาเป็นระบบทุนนิยมที่รัฐสนับสนุน (state capitalism) และใช้เงินภาษีเพื่อวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีล้ำหน้า (เช่น คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต เรดาร์ เครื่องบินไอพ่น เป็นต้น) ในรูปแบบหลัก ๆ จากงบประมาณของกระทรวงกลาโหม และเมื่อพัฒนาถึงระดับแล้ว ก็จะส่งต่อเทคโนโลยีเหล่านี้ให้กับกลุ่มธุรกิจเพื่อใช้ในการพลเรือนโดยทำเป็นประโยชน์ส่วนตัว[20]

ชอมสกีบ่อยครั้งกล่าวชมเสรีภาพพลเมืองอเมริกันตามชอมสกี สังคมตะวันตกอื่น ๆ เช่น ฝรั่งเศสและแคนาดา ไม่ปกป้องเสรีภาพการพูดในเรื่องที่สร้างความขัดแย้งเท่ากับสหรัฐแต่เขาก็ไม่ได้ให้เครดิตกับรัฐบาลเพราะเสรีภาพเยี่ยงนั้น แต่ให้กับขบวนการทางสังคมสหรัฐที่ต่อสู้เพื่อเสรีภาพขบวนการที่เขาให้เครดิตมากที่สุดคือ ขบวนการเลิกทาส ขบวนการสิทธิแรงงานและสหภาพแรงงาน และการต่อสู้เพื่อสิทธิพลเมืองของชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกาชอมสกีมักจะวิจารณ์รัฐบาลอื่น ๆ ที่ตามขยี้เสรีภาพในการพูด เช่นในเรื่อง Faurisson affair ระหว่างปี 2521-2522 ในประเทศฝรั่งเศสที่สร้างความขัดแย้งมากที่สุด และการปราบปรามเสรีภาพในการพูดในประเทศตุรกี[21]

ที่เล็กเช่อร์เอ็ดวาร์ดดับเบิลยูเซดประจำปีเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552 จัดโดยศูนย์มนุษยชาติเฮย์แมน ชอมสกีเริ่มต้นปาฐกถาของเขาในหัวข้อ "กาลแห่งอภิมหาอำนาจขั้วเดียวและวัฒนธรรมจักรวรรดินิยม (The Unipolar Moment and the Culture of Imperialism)" โดยสรรเสริญ ศ. เอ็ดวาร์ด เซด ผู้เรียกร้องให้สนใจเรื่อง "วัฒนธรรมจักรวรรดินิยม" ของอเมริกา[22]

เมื่อสหรัฐฉลองวันครบรอบ 20 ปี ของการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลินในเดือนพฤศจิกายน 2552 ชอมสกีกล่าวว่า การฉลองนี้มองข้ามการล่วงสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นเพียงแค่อาทิตย์เดียวหลังเหตุการณ์นั้นคือในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2532 กองพัน Atlacatl ในประเทศเอลซัลวาดอร์ผู้ได้รับอาวุธจากสหรัฐ ได้ลอบสังหารหัวหน้าบาทหลวงเยซูอิตชาวละตินอเมริกัน 6 คนเขาเทียบ "การแสดงความยินดีกับตัวเอง" ของสหรัฐเรื่องการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน กับ "ความเงียบที่ดังกึกก้อง" อันห้อมล้อมการสังหารบาทหลวงเหล่านั้น และยืนยันว่า สหรัฐสังเวยหลักประชาธิปไตยเพื่อประโยชน์ของตนเอง และเนื่องจากไม่วิจารณ์ตัวเองก็มักจะ "เล็งแสงเลเซอร์ไปที่อาชญากรรมของศัตรู แต่ที่ขาดไม่ได้ก็คือ เราจะจัดการให้แน่ใจว่า จะไม่ตรวจดูตัวเอง"[23][24]

ข้อวิจารณ์ต่อประชาธิปไตยในสหรัฐ

ชอมสกียืนยันว่า ประเทศจะเป็นประชาธิปไตยได้ก็ตราบเท่าที่นโยบายรัฐบาลสะท้อนความคิดเห็นที่รอบรู้ของประชาชนและให้ข้อสังเกตว่า แม้สหรัฐจะมีโครงสร้างต่าง ๆ ตามแบบแผนของประชาธิปไตย แต่ว่าพวกมันก็ทำหน้าที่อย่างพิการเขาอ้างว่า การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐได้เงินทุนจากศูนย์กลางผู้มีอำนาจและชักใยโดยอุตสาหกรรมการประชาสัมพันธ์ ที่เพ่งความสนใจไปที่คุณสมบัติและภาพพจน์ของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นหลัก แทนที่จะสนใจประเด็นปัญหา[25]

ชอมสกีอ้างอิงงานศึกษาความเห็นประชาชนที่ทำโดยองค์กรโพล (เช่น The Gallup Organization, Zogby International) และนักวิชาการ (เช่น Program on International Policy Attitudes แห่งมหาวิทยาลัยแมริแลนด์ คอลเลจพาร์ก)เช่น ที่สำรวจใกล้ ๆ การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2547 ว่า ผู้ลงคะแนนเสียงน้อยมากระบุว่า ตนลงคะแนนเพราะเหตุ "กำหนดการ/ไอเดีย/นโยบาย/เป้าหมาย" ของผู้สมัครรับเลือกตั้ง[25]นอกจากนั้นแล้ว งานศึกษาหลายงานยังแสดงว่า คนอเมริกันส่วนมากมีจุดยืนเรื่องปัญหาในประเทศ เช่น เรื่องประกันสุขภาพ ที่พรรคการเมืองหลัก 2 พรรคไม่เป็นตัวแทน[26]ชอมสกีเปรียบเทียบการเลือกตั้งในสหรัฐกับประเทศอื่น ๆ เช่น สเปน โบลิเวีย และบราซิล ที่เขาอ้างว่า ประชาชนรอบรู้ดีกว่าในประเด็นปัญหาสำคัญ ๆ[27]

เริ่มตั้งแต่การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2543 เกี่ยวกับพรรคที่สาม ชอมสกีให้คำแนะนำว่า "ถ้าคุณอยู่ในรัฐที่ไม่มีใครล้ำหน้า (ให้ลงคะแนน) กันไม่ให้คนแย่ที่สุดเข้า (คือให้ลงคะแนนให้กับคนแย่น้อยที่สุด)ถ้าไม่ใช่ ให้ทำสิ่งที่คุณต้องการ"[27][28]เมื่อถามว่าเขาออกเสียงหรือไม่ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2551 เขาตอบว่า

ผมลงคะแนนให้พรรค Green เพราะนี่ (รัฐแมสซาชูเซตส์) เป็นรัฐที่เลือกพรรคแน่นอน แต่ถ้าผมอยู่ในรัฐที่ไม่มีใครล้ำหน้า (swing state) ผมก็คงจะกลั้นหายใจแล้วลงคะแนนให้โอบามา เพื่อกันอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งแย่กว่า ผมไม่ได้หวังอะไรในเขาและก็ไม่ได้ผิดหวังอะไร จริง ๆ แล้ว ผมได้เขียนถึงเขาก่อนการเลือกตั้งเบื้องต้น (primaries) ผมคิดว่าเขาแย่[29]

โลกาภิวัตน์

ตั้งแต่ต้น ๆ ชอมสกีได้พยายามวิเคราะห์ผลของกระบวนการโลกาภิวัตน์ซึ่งเขาสรุปด้วยวลีว่าเป็น "ไวน์เก่า ขวดใหม่" โดยดำรงว่า แรงดลใจของกลุ่มอภิสิทธิชนก็ยังเป็นเรื่องเดิมซึ่งก็คือ กันประชาชนทั่วไปจากกระบวนการตัดสินใจเรื่องที่สำคัญ โดยต่างเพียงแค่ว่า ศูนย์กลางอำนาจย้ายไปอยู่ที่บริษัทและธนาคารข้ามชาติชอมสกีอ้างว่า ในกระบวนการนี้ ผู้มีอำนาจในบริษัทข้ามชาติ "กำลังสถาปนาสถาบันปกครองของตัวเอง" เพื่อสะท้อนเอื้อมอำนาจทั่วโลกของตน[30]

ตามชอมสกี แผนการหลักของพวกเขาตามที่เป็นมาก็คือ เข้าควบคุมสถาบันเศรษฐกิจของโลกที่ตั้งขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คือ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลก ซึ่งได้ใช้กฎ "Washington Consensus" เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เป็นกฎบังคับให้ประเทศกำลังพัฒนาจำกัดการใช้จ่ายและเปลี่ยนโครงสร้าง ที่มักจะตัดงบประมาณโปรแกรมทางสวัสดิภาพและสังคมการช่วยเหลือหรือเงินกู้จาก IMF มักจะมีเงื่อนไขให้ปรับเปลี่ยนเช่นนี้

ชอมสกีอ้างว่า การสร้างสถาบันและความตกลงระดับโลกเช่น องค์การการค้าโลก ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า ความตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) และ Multilateral Agreement on Investment เป็นวิธีใหม่ ๆ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของอภิสิทธิชนในขณะที่บ่อนทำลายประชาธิปไตย[31]เขาเชื่อว่า มาตรการแบบเคร่งครัดและเสรีนิยมใหม่เหล่านี้จะประกันว่า ประเทศยากจนจะมีบทบาทเพียงเป็นผู้ให้แรงงาน ทรัพยากรธรรมชาติ และโอกาสการลงทุน ในราคาถูกให้แก่ประเทศพัฒนาแล้วนอกจากนั้นแล้ว บริษัทยังสามารถขู่ย้ายไปอยู่ในประเทศที่แรงงานถูกว่า และชอมสกีเห็นว่านี่เป็นอาวุธทรงอิทธิพลเพื่อควบคุมแรงงานในประเทศที่ร่ำรวยให้อยู่ใต้อำนาจ

ชอมสกีแย้งเรื่องคำที่ใช้อภิปรายโลกาภิวัตน์ เริ่มตั้งแต่คำว่า โลกาภิวัตน์ (globalization) เอง ซึ่งเขายืนยันว่า หมายถึงบูรณาการทางเศรษฐกิจที่สนับสนุนโดยบริษัท ไม่ใช่หมายถึงการทำเรื่องอะไรอย่างอื่นให้เป็นสากลเขาไม่ชอบใจคำว่า ต่อต้านโลกาภิวัตน์ (anti-globalization) ที่ใช้หมายถึงขบวนการส่งเสริมความยุติธรรมทางสังคมและสิ่งแวดล้อมในระดับโลก ชอมสกีเข้าใจคำนิยมว่า การค้าเสรี ว่าหมายถึง "การผสมกันระหว่างการปล่อยเสรีและการป้องกัน ออกแบบโดยคนมีอำนาจสถาปนานโยบาย เพื่ออำนวยผลประโยชน์ของตนซึ่งอาจจะเป็นอะไรก็ได้ในยุคนั้น ๆ "[30]

ในวรรณกรรมของเขา ชอมสกีได้ดึงผู้อ่านให้สนใจขบวนการต่อต้านโลกาภิวัตน์เขาได้กล่าวถึงเหตุผลที่กลุ่มซาปาติสตาในเม็กซิโกต่อต้าน NAFTA ในเรียงความ "การกำเริบของซาปาติสตา (The Zapatista Uprising)"เขายังได้วิพากษ์วิจารณ์ความตกลง Multilateral Agreement on Investment และได้รายงานกิจกรรมของนักปฏิบัติการที่ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความตกลงเสียงของชอมสกีเป็นส่วนสำคัญของนักวิพากษวิจารณ์ที่ให้หลักวิชาการต่อกลุ่มต่าง ๆ ที่รวมตัวกันประท้วงต่อต้านองค์การการค้าโลกในเดือนพฤศจิกายน 2542[32]

ลัทธิสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์

ชอมสกีคัดค้านอย่างรุนแรงต่อลัทธิทุนนิยมที่แทรกแซงโดยรัฐ (state capitalism) ที่เขาเชื่อว่า ดำเนินอยู่ในสหรัฐอเมริกาและประเทศตะวันตกอื่น ๆเขาสนับสนุนไอเดียทางอนาธิปไตย (หรือสังคมนิยมแบบอิสรนิยม) ของมีฮาอิล บาคูนินหลายอย่างชอมสกีเห็นด้วยกับข้อคิดเห็นของบาคูนินเกี่ยวกับรัฐเผด็จการว่า เป็นตัวพยากรณ์รัฐตำรวจที่เหี้ยมโหดในโซเวียต เช่นที่พบในเรียงความ สหภาพโซเวียตเทียบกับสังคมนิยม (The Soviet Union Versus Socialism)เขาได้นิยามระบบคอมมิวนิสต์แบบโซเวียตว่าเป็น สังคมนิยมจอมปลอม เพราะว่า ระบบสังคมนิยมต้องควบคุมการผลิตและทรัพยากรแบบประชาธิปไตยที่แท้จริง ตลอดจนการถือทรัพย์สินเป็นสาธารณะเขากล่าวว่า ตรงข้ามกับที่คนจำนวนมากในอเมริกาอ้าง การล่มสลายของสหภาพโซเวียตควรพิจารณาว่าเป็น "ชัยชนะย่อย ๆ ของสังคมนิยม" ไม่ใช่ของทุนนิยม[33]

ก่อนการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ชอมสกีได้ประณามระบบจักวรรดินิยมของโซเวียตอย่างโต้ง ๆยกตัวอย่างเช่น ในช่วงถามตอบหลังเล็กเช่อร์ในประเทศนิการากัวปี 2529 เมื่อผู้ฟังคัดค้านว่าเขาสามารถ "กล่าวถึงจักรวรรดินิยมของอเมริกาเหนือและจักรวรรดินิยมของของรัสเซียในประโยคเดียวกันได้อย่างไร"เขาก็ตอบว่า

ความจริงอย่างหนึ่งเกี่ยวกับโลกก็คือ มีอภิมหาอำนาจสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเป็นอำนาจมหึมาที่บังเอิญมีรองเท้าบูทขัดคอของคุณ และอีกฝ่ายหนึ่งที่เล็กว่า ที่ก็บังเอิญมีรองเท้าบูทขัดอยู่ที่คอของคนอื่น

และผมคิดว่า ใครก็ตามในโลกที่สามที่ตกอยู่ใต้ความเข้าใจผิดในเรื่องเหล่านี้ ก็จะเป็นผู้ที่กำลังผิดพลาดอย่างมหันต์[14]

ชอมสกีเคยประทับใจในระบบสังคมนิยมที่ปฏิบัติในเวียดนามในปาฐกถาที่นครฮานอยวันที่ 13 เมษายน 2513 ซึ่งถ่ายทอดทางสถานีโฆษณาชวนเชื่อของเวียตกงในวันต่อไป ชอมสกีกล่าวถึง "ความชื่นชม (ของเขา) สำหรับประชาชนเวียดนามที่สามารถป้องกันตนเองจากการโจมตีที่โหดร้าย และในขณะเดียวกัน ได้ก้าวเดินไปข้างหน้าเพื่อถึงสังคมแบบสังคมนิยม"ชอมสกีชมคนเวียดนามเหนือเพราะพยายามสร้างความรุ่งเรืองทางวัตถุ ความยุติธรรมทางสังคม และความก้าวหน้าทางวัฒนธรรมเขายังกล่าวถึงและสนับสนุนวรรณกรรมทางการเมืองของเล สวน[34] ผู้เป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามถึง 26 ปีหลังจากโฮจิมินห์เสียชีวิต อีกด้วย

ในหนังสือปี 2516 ชื่อว่า เหตุผลเพื่อการมีรัฐ (For Reasons of State) ชอมสกีอ้างว่า แทนระบบทุนนิยมที่ประชาชนเป็น "ทาสค่าแรง" หรือระบบเผด็จการที่คณะกรรมการกลางเป็นผู้ตัดสินใจ สังคมสามารถดำเนินไปได้โดยไม่ต้องมีค่าแรงเขาอ้างว่า ประชาชนควรมีอิสระในการเลือกงานที่ตนต้องการคือประชาชนควรมีอิสระทำสิ่งที่ตนชอบ และงานที่เลือกควรเป็นทั้ง "รางวัลในตัวเอง" และ "มีประโยชน์ทางสังคม"สังคมจะดำเนินไปตามระบบอนาธิปไตยแบบสันติ โดยไม่มีรัฐหรือสถาบันที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จงานที่ไม่น่าชอบใจสำหรับทุกคน ถ้ามี ควรจะกระจายให้ทุก ๆ คนเท่า ๆ กัน[35]

แม้ว่า ชอมสกีจะคัดค้านวิธีการสร้างสังคมนิยมของสหภาพโซเวียต แต่เขาก็ไม่ได้คัดค้านขบวนการคอมมิวนิสต์ในเอเชียเท่า โดยอ้างถึงส่วนร่วมระดับรากหญ้าภายในระบบทั้งของจีนและเวียดนามเช่น ในเดือนธันวาคม 2510 ในการประชุมในรัฐนิวยอร์ก ชอมสกีโต้การวิพากษ์วิจารณ์การปฏิวัติในประเทศจีนว่า "ผมไม่รู้สึกว่า พวกเขาควรจะได้การประณามอย่างไม่มีเงื่อนไขเลยมีอะไรหลายอย่างที่ควรจะคัดค้านในสังคมใดสังคมหนึ่งแต่เอาจีนตัวอย่าง จีนในปัจจุบันเราอาจจะพบอะไรหลาย ๆ อย่างที่น่าชื่นชม"โดยกล่าวต่อไปว่า "มีตัวอย่างที่ยิ่งกว่าจีนหลายตัวอย่างแต่ผมคิดว่า จีนเป็นตัวอย่างสำคัญสำหรับสังคมแบบใหม่ที่อะไร ๆ ที่ดีและน่าสนใจมาก เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นที่กระบวนการเกษตรหมู่ (collectivization) และ communization หลายอย่างมีฐานจากการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นจำนวนมาก และเกิดขึ้นหลังจากที่คนชั้นล่างได้ความเข้าใจระดับหนึ่งที่นำไปสู่ก้าวต่อไป"[11]

เขาได้กล่าวถึงเวียดนามว่า "แม้ว่าการมีส่วนร่วมแบบประชาธิบไตยในระดับหมู่บ้านและภูมิภาคก็มีปรากฏ แต่การวางแผนสำคัญก็ยังทำที่ศูนย์กลางในมือของผู้มีอำนาจของรัฐ"[36]

ในบริบทของการออกความเห็นเรื่องจุดผลิตน้ำมันสูงสุดในเดือนเมษายน 2548 ชอมสกีกล่าวว่า "ประเทศจีนน่าจะเป็นประเทศซึ่งมีมลพิษมากที่สุดในโลก (แม้ว่า) คุณจะมองไม่เห็น จีนเป็นรัฐเผด็จการชนิดหนึ่ง ดังนั้น จึงเท่ากับยัดเยียดมลพิษให้แก่ประชาชน แต่ระดับของมลพิษแย่มาก..."[37]

ลัทธิมากซ์

ชอมสกีคัดค้านรูปแบบดันทุรังของลัทธิมากซ์หลายอย่าง และแม้แต่ลัทธิมากซ์เอง แต่ก็ยังชื่นชอบแนวคิดทางการเมืองที่มากซ์มอบให้[38]โดยไม่เหมือนกับนักอนาธิปไตยบางพวก ชอมสกีไม่พิจารณาลัทธิบอลเชวิกว่าเป็น "ลัทธิมากซ์ในระดับปฏิบัติการ" แต่เขายอมรับว่า มากซ์เป็นคนเข้าใจได้ยากและมีไอเดียต่าง ๆ ที่ขัดแย้งกันแม้เขาจะยอมรับถึงระบอบเผด็จการที่แฝงเร้นในแนวคิดของมากซ์ เขาก็ยังชี้ลัทธิมารซ์แนวอิสรนิยมที่พัฒนาเป็นสภาคอมมิวนิสต์ (council communism) (ของโรซา ลุกเซมบวร์ก และ Anton Pannekoek)[38]จุดยืนทางสังคมนิยมแบบอิสรนิยมของเขาทำให้เขาระบุตัวเองว่าเป็นนักอนาธิปไตยที่เอียงไปทางลัทธิมากซ์แบบสุดโด่ง[39]

อนาธิปไตย

ชอมสกีมักจะเน้นความโน้มเอียงทางปรัชญาของเขา ไปทางลัทธิอนาธิปไตยที่คัดค้านการใช้อำนาจไม่ชอบธรรมทุกรูปแบบแม้เขาจะไม่ออกความเห็นอย่างละเอียดว่า สังคมอนาธิปไตยควรเป็นเช่นไร เขาก็ได้ให้โครงร่างเกี่ยวกับค่านิยมและสถาบันของมันอย่างกว้าง ๆคือ รูปแบบอนาธิปไตยที่เขาชอบใจก็คือ

... เป็นลัทธิสังคมนิยมแบบอาสาสมัคร ซึ่งก็คือ สังคมนิยมแบบอิสรนิยม หรือสหการนิยมแบบอนาธิปไตย หรืออนาธิปไตยแบบคอมมิวนิสต์ ตามรูปแบบของบาคูนิน, Kropotkin, และอื่น ๆ ผู้จินตนาการถึงสังคมที่จัดระเบียบอย่างดี โดยมีฐานเป็นหน่วยที่ปรับตัวเองได้ (organic) เป็นชุมชนที่ปรับตัวเองได้ และโดยทั่วไปแล้ว นี่จะหมายถึงระดับที่ทำงานหรือละแวกบ้าน และจากหน่วยพื้นฐานสองอย่างนี้ ก็จะสามารถสร้างองค์กรทางสังคมแบบบูรณาการผ่านการจัดระเบียบแบบสหพันธรัฐ ซึ่งอาจจะอยู่ในระดับประเทศหรือแม้แต่ระดับระหว่างประเทศ และการตัดสินใจจะทำที่ระดับต่าง ๆ แต่จะโดยผู้แทนที่มาจากชุมชนปรับตัวได้นั้นเสมอ ผู้จะกลับไปยังชุมชนนั้น และเป็นผู้อาศัยในชุมชนนั้นจริง ๆ[35]

เกี่ยวกับการปกครองสถาบันทางการเมืองและเศรษฐกิจ ชอมสกีเน้นความสำคัญของรูปแบบประชาธิปไตยระดับรากหญ้าอย่างคงเส้นคงวาและเพราะเหตุนั้น สถาบันประชาธิปไตยมีตัวแทนแบบแองโกล-อเมริกัน "ก็จะถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยนักอนาธิปไตยสำนักนี้โดยสองสาเหตุ เรื่องแรกก็คือเพราะว่าอำนาจรวมศูนย์ผูกขาดอยู่ที่รัฐ และเรื่องสองอันเป็นเรื่องคอขาดบาดตาย ก็เพราะประชาธิปไตยมีตัวแทนจะจำกัดอยู่ในเรื่องการเมือง และไม่ล่วงล้ำไปในเรื่องเศรษฐกิจอย่างสำคัญ"[35][40]

ชอมสกีเชื่อว่า อนาธิปไตยเป็นทายาทโดยตรงของเสรีนิยม โดยบูรณาการอุดมการณ์เกี่ยวกับเสรีภาพส่วนบุคคลและการปกครองแบบน้อยที่สุด และเป็นอุดมการณ์จากยุคเรืองปัญญา[41]เขามองสังคมนิยมแบบอิสรนิยมว่า เป็นจุดหมายอันสมเหตุผลของเสรีนิยม โดยขยายอุดมการณ์ประชาธิปไตยเข้าไปในเรื่องเศรษฐกิจ ซึ่งทำอนาธิปไตยให้เป็นส่วนของปรัชญาทางสังคมนิยมเอง

อิสรเสรีนิยมแบบอเมริกัน

ชอมสกีได้อธิบายคำว่า libertarianism (ปกติจะหมายถึงอิสรเสรีนิยม) ดังที่เข้าใจในสหรัฐอเมริกาว่า "เป็นการสนับสนุนระบบทรราชย์แบบสมบูรณ์อย่างสุดโต่ง" และ "เป็นสิ่งที่อยู่ตรงข้ามสุดของอุดมการณ์ที่เรียกว่า อิสรเสรีนิยม ดังที่เข้าใจในที่อื่น ๆ ของโลกตั้งแต่ยุคเรืองปัญญา"[42]

รัฐสวัสดิการ

ชอมสกีคัดค้านอย่างรุนแรงมุมมองว่า อนาธิปไตยเข้ากับมาตรการของรัฐสวัสดิการไม่ได้ โดยกล่าวเป็นบางส่วนว่า

แน่นอนว่า บุคคลสามารถมีจุดยืนว่าเราไม่สนใจปัญหาที่คนต้องประเชิญในปัจจุบัน และต้องการคิดถึงอนาคตที่เป็นไปได้ โอเค แต่ว่า คุณก็ต้องเลิกเสแสร้งว่า คุณสนใจในมนุษย์และชะตาของมนุษย์ แล้วอยู่แต่ในห้องสัมมนาหรือร้านกาแฟของปัญญาชนร่วมกับอภิสิทธิชนอื่น ๆ หรือ บุคคลสามารถมีจุดยืนที่มีมนุษยธรรมดีกว่ามาก คือ ฉันต้องการที่จะทำการในปัจจุบันเพื่อสร้างสังคมที่ดีขึ้นในอนาคต ซึ่งเป็นจุดยืนของนักอนาธิปไตยแบบคลาสสิก และต่างจากสโลแกนต่าง ๆ ที่เป็นประเด็น นั่นแหละตรงเผงเลย และย่อมนำไปสู่การช่วยเหลือบุคคลที่ประสบปัญหาวันนี้โดยตรง คือการบังคับใช้กฎหมายสุขภาพและความปลอดภัย นิติบัญญัติเพื่อประกันสุขภาพระดับชาติ ระบบการช่วยเหลือสำหรับบุคคลที่จำเป็นต้องได้ความช่วยเหลือ เป็นต้น (แม้) นี่ยังไม่ใช่ข้อแม้ที่เพียงพอเพื่ออนาคตที่ต่างและดีขึ้น แต่ก็ยังเป็นข้อแม้ที่จำเป็น อะไรอย่างอื่นก็จะได้รับความดูถูกรังเกียจที่ชอบธรรม จากบุคคลที่ไร้โอกาสเพื่อไม่ต้องใส่ใจสถานการณ์ในชีวิต ผู้ต้องดิ้นรนเพื่อการอยู่รอด[43]

สื่อมวลชน

ประเด็นวรรณกรรมทางการเมืองของชอมสกีอีกอย่าง เป็นการวิเคราะห์สื่อมวลชนกระแสหลัก (โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา) ซึ่งเขากล่าวหาว่า จำกัดเรื่องที่พูดเพื่อโปรโหมตผลประโยชน์ของบริษัทและรัฐบาล

หนังสือ การผลิตความยินยอม - เศรษฐกิจทางการเมืองของสื่อมวลชน (Manufacturing Consent: The Political Economy of the Mass Media) ของเขาและผู้ร่วมเขียน ได้ตรวจสอบประเด็นนี้อย่างละเอียด แล้วเสนอแบบจำลองการโฆษณาชวนเชื่อของสื่อ โดยมีกรณีศึกษาละเอียดหลายงานเพื่อสนับสนุนแบบจำลองนี้ตามแบบจำลอง สังคมที่เป็นประชาธิปไตยมากกว่าเช่นสหรัฐจะใช้วิธีการควบคุมที่รู้ได้ยาก ไม่ประกอบด้วยความรุนแรง โดยไม่เหมือนกับระบบอำนาจนิยม ซึ่งสามารถใช้อำนาจความรุนแรงเพื่อบีบบังคับประชาชนทั่วไปได้คำพูดที่ยกมาบ่อย ๆ ของชอมสกีก็คือ "การโฆษณาชวนเชื่อที่ใช้ในระบบประชาธิปไตย ก็เหมือนกับไม้กระบองที่ใช้ในระบอบเผด็จการ"

แบบจำลองพยายามอธิบายความเอนเอียงอย่างเป็นระบบเช่นนี้ ว่ามีเหตุจากโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ไม่ใช่เป็นการสมรู้ร่วมคิดของกลุ่มบุคคลโดยอ้างว่า ความเอนเอียงมาจาก "ตัวกรอง" 5 อย่างที่ข่าวที่ออกจะต้องผ่าน ซึ่งรวม ๆ กันมีผลบิดเบือนการรายงานข่าว

  1. ตัวกรองแรก คือ ความเป็นเจ้าของ ก็คือสื่อมวลชนโดยมากมีเจ้าของเป็นบริษัทขนาดใหญ่
  2. ตัวกรองที่สอง ก็คือ รายได้ คือสื่อได้รายได้ส่วนมากจากการโฆษณา ไม่ใช่จากผู้อ่าน ดังนั้น เนื่องจากสื่อเป็นธุรกิจเพื่อผลกำไรที่พยายามขายสินค้า ซึ่งก็คือผู้อ่านและผู้ฟัง ให้กับธุรกิจอื่น ๆ (คือผู้โฆษณา) แบบจำลองจึงชี้ว่า สื่อจะพิมพ์ข่าวที่สะท้อนความต้องการและค่านิยมของธุรกิจเหล่านั้น
  3. นอกจากนั้นแล้ว สื่อต้องอาศัยสถาบันของรัฐและธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีความเอนเอียงที่ชัดเจนโดยเป็นแหล่งข่าว (ตัวกรองที่สาม)
  4. การถูกตำหนิ ซึ่งเป็นตัวกรองที่สี่ หมายถึงกลุ่มสนับสนุนต่าง ๆ ที่เล่นงานสื่อ โดยกล่าวหาว่ามีอคติหรืออื่น ๆ เมื่อไม่รายงานตามเส้น
  5. มาตรฐาน ซึ่งเป็นตัวกรองที่ห้า หมายถึงมโนคติสามัญที่มีร่วมกันในอาชีพนักข่าว[44]

ดังนั้น แบบจำลองจึงพยายามอธิบายว่าสื่อจะสร้างระบบโฆษณาชวนเชื่อที่ไร้ศูนย์กลาง ที่ไม่ใช่เป็นการสมรู้ร่วมคิด แต่ก็ยังมีอิทธิพลอย่างยิ่ง เป็นการระดมกำลังมติของอภิสิทธิชน จำกัดการอภิปรายประเด็นปัญหาในกรอบแนวคิดของอภิสิทธิชน แต่ในขณะเดียวกันก็ยังปรากฏเป็นความยินยอมทางประชาธิปไตย ได้อย่างไร

ชอมสกีและผู้ร่วมเขียนได้ทดสอบแบบจำลองโดยวิเคราะห์ "ตัวอย่างที่คู่กัน" คือคู่เหตุการณ์ที่คล้ายกันจริง ๆ และต่างกันเพียงแค่ความสัมพันธ์กับผลประโยชน์ของคนบางกลุ่ม ยกตัวอย่างเช่น พวกเขาพยายามแสดงว่าในกรณีที่ "ศัตรูทางการ" ทำการอย่างหนึ่ง (เช่นสังหารบุคคลทางศาสนา) สื่อก็จะตรวจสอบและรายงานเรื่องนั้นอย่างละเอียด แต่ถ้ารัฐบาลของตนหรือรัฐบาลพันธมิตรทำสิ่งเดียวกัน (หรือแย่ยิ่งกว่านั้น) สื่อก็จะไม่ให้ความสำคัญในเรื่องนั้นพวกเขายังได้ทดสอบแบบจำลองกับกรณีที่บ่อยครั้งจัดว่าเป็นตัวอย่างเลิศที่สุดของสื่อเสรีและเป็นอิสระอย่างเด่นชัด คือการรายงานข่าวของเหตุการณ์ "การรุกตรุษญวน" ในช่วงสงครามเวียดนามและแม้ในกรณีนี้ พวกเขาก็ยังอ้างว่า สื่อประพฤติเป็นเบี้ยเพื่อผลประโยชน์ของอภิสิทธิชน[ต้องการอ้างอิง]

ตะวันออกกลาง

ชอมสกี "เติบโต... ภายในประเพณีวัฒนธรรมของคนยิวและคนไซออน" (Peck, p. 11)บิดาของเขาเป็นนักวิชาการชั้นนำทางภาษาฮีบรูและสอนอยู่ในสถาบันศึกษาทางศาสนาชอมสกียังหลงไหลและมีบทบาทกับการเมืองไซออนนิสต์อย่างยาวนานดังที่เขาได้กล่าวไว้ว่า

ผมสนใจอย่างลึกซึ้งใน... เหตุการณ์และปฏิบัติการของขบวนการไซออนิสต์ หรือสิ่งที่เรียกว่า ไซออนนิสต์ในเวลานั้นนั้น แม้ว่าไอเดียและประเด็นเดียวกันปัจจุบันก็จะเรียกว่า ต่อต้านไซออนนิสต์ ผมสนใจทางเลือกแบบสังคมนิยมที่รวมคนทั้งสองเชื้อชาติในปาเลสไตน์ สนใจระบบ kibbutzim (เกษตรและโรงงานแบบชุมชน) และระบบแรงงานแบบสหกรณ์ที่พัฒนาขึ้นในชุมชนยิวในที่นั้น (Yishuv) ไอเดียลาง ๆ ของผมในเวลานั้น (พ.ศ. 2490) ก็คือจะไปยังปาเลสไตน์ อาจจะที่ชุมชนกิบบุตซ์แห่งหนึ่ง เพื่อมีส่วนในการร่วมมือกันระหว่างคนอาหรับ-คนยิวภายในโครงร่างสังคมนิยม ซึ่งตรงข้ามกับแนวคิดการมีรัฐชาวยิวที่ไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างสุดซึ้ง (อันเป็นจุดยืนที่ในขณะนั้นพิจารณาว่า อยู่ในกระแสหลักของขบวนการไซออนิสต์) (Peck, p. 7)

เขาติเตียนนโยบายของอิสราเอลต่อเพื่อนบ้านชาวปาเลสไตน์และอาหรับอย่างรุนแรงหนังสือของเขาเรื่อง สามเหลี่ยมพรหมลิขิต (The Fateful Triangle) พิจารณาว่าเป็นหนังสือชั้นยอดเกี่ยวกับการต่อสู้กันระหว่างชาวอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ตามบุคคลที่ต่อต้านนโยบายอิสราเอลเกี่ยวกับชาวปาเลสไตน์และนโยบายสนับสนุนการมีรัฐอิสราเอลของชาวอเมริกันเขายังกล่าวหาอิสราเอลว่า "ชี้ทางการก่อการร้ายของรัฐ" เพราะได้ขายอาวุธให้แก่ประเทศแอฟริกาใต้ที่ยังมีนโยบายการถือผิว แก่ประเทศละตินอเมริกาที่เขาบ่งว่าเป็นหุ่นเชิดของสหรัฐเช่น ประเทศกัวเตมาลาในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 และแก่กำลังกึ่งทหาร (หรือตามชอมสกี เป็นกลุ่มก่อการร้าย) ที่สหรัฐสนับสนุน เช่น พวกกบฏคอนทราสในประเทศนิการากัวChomsky 1992

ชอมสกีบ่งอิสราเอลว่าเป็น "รัฐทหารรับจ้าง" เป็น "สปาร์ตาชาวอิสราเอล" และเป็นเมืองขึ้นทางทหารภายในระบบความเป็นเจ้าโลกของสหรัฐเขายังตำหนิอย่างรุนแรงชาวยิวอเมริกันที่มีบทบาทให้อิสราเอลได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ โดยกล่าวว่า "พวกเขาควรจะเรียกให้ถูกว่า 'ผู้สนับสนุนความเสื่อมทางศีลธรรม และความพินาจของอิสราเอลในที่สุด'"[45]

เขากล่าวถึงองค์กร Anti-Defamation League (ADL) ซึ่งเป็นองค์กรสนับสนุนนโยบายของอิสราเอลในสหรัฐว่า

ผู้คุมทางการชั้นนำของการต่อต้านยิว คือ Anti-Defamation League ของ B'nai B'rith ตีความการต่อต้านยิวว่า เป็นความไม่ยินยอมคล้อยตามข้อกำหนดขององค์กรเกี่ยวกับการสนับสนุนรัฐบาลอิสราเอล เหตุผลก็ตรงไปตรงมา คือ การต่อต้านยิวก็คือการต่อต้านผลประโยชน์ของอิสราเอล (ตามทัศนคติของ ADL) ADL โดยเนื้อแท้ได้ละทิ้งบทบาทในยุคต้น ๆ ของตนที่เป็นองค์กรสิทธิพลเมือง แล้วกลายเป็น "หนึ่งในเสาหลัก" ของการโฆษณาชวนเชื่อของอิสราเอลในสหรัฐ ดังที่สื่ออิสราเอลได้พรรณนาถึงองค์กรอย่างไม่เกรงใจว่า (มีหน้าที่) สอดส่องดูแล, ทำบัญชีดำ, รวบรวมไฟล์เอกสารเหมือนกับ FBI แล้วส่งเวียนไปให้สาวกเพื่อใส่ร้ายสบประมาท โต้ตอบอย่างเป็นสาธารณะด้วยความโกรธต่อการวิพากษ์วิจารณ์ปฏิบัติการของอิสราเอล เป็นต้น การกระทำเยี่ยงนี้ ที่ค้ำด้วยคำพูดเชิงว่ามีการต่อต้านยิว หรือด้วยการกล่าวหาตรง ๆ (ล้วน) มีจุดประสงค์เพื่อเบนความสนใจจากหรือบ่อนทำลายการคัดค้านนโยบายของอิสราเอล รวมทั้งการปฏิเสธไม่ดำเนินการให้ถึงข้อตกลงทางการเมืองของอิสราเอลพร้อมกับการสนับสนุนจากสหรัฐ[46]

ในสัมภาษณ์ปี 2547[47][48][49]และในนิตยสารสำหรับเยาวชนชาวยิว Heeb[50]ชอมสกีได้กล่าวไว้ว่า

สรุปว่า ประมาณ 90% ของที่ดิน (ในอิสราเอล) สำรองไว้ให้คนที่มีเชื้อชาติ ศาสนา และแหล่งกำเนิดเป็นชาวยิว ถ้า 90% ของที่ดินในสหรัฐอเมริกาสำรองไว้สำหรับคนขาว มีเชื้อชาติ ศาสนา และแหล่งกำเนิดเป็นคนคริสต์ ผมก็จะต่อต้าน (โดย) ADL ก็จะต่อต้านเช่นกัน (ดังนั้น) เราควรจะยอมรับค่านิยมที่เป็นสากล (และต่อต้านนโยบายเยี่ยงนี้ของอิสราเอล)

ในเดือนพฤษภาคม 2556 ชอมสกีร่วมกับศาสตราจารย์ท่านอื่น ๆ ได้แนะนำ ศ. สตีเฟน ฮอว์คิงให้คว่ำบาตรการประชุมทางวิชาการในประเทศอิสราเอล[51]

เพราะทัศนคติของเขาเกี่ยวกับตะวันออกกลาง อิสราเอลจึงได้ห้ามไม่ให้ชอมสกีเข้าประเทศตั้งแต่ปี 2553[52]

สงครามอิรัก

ชอมสกีต่อต้านสงครามอิรักเพราะผลที่เขาเห็นว่าเกิดต่อระบบระหว่างประเทศ ซึ่งก็คือ สงครามช่วยดำรงระบบที่อำนาจและกำลังอยู่เหนือการทูตและกฎหมายเป็นทัศนคติซึ่งเขากล่าวย่อ ๆ ใน หนังสือ ความเป็นเจ้าโลกหรือการอยู่รอด (Hegemony or Survival) ว่า

โดยยังไม่กล่าวถึงปัญหาเป็นตายว่า ใครจะเป็นผู้ปกครอง (อิรักหลังสงคราม) ผู้ที่สนใจโศกนาฏกรรมในอิรักมีจุดมุ่งหมายหลัก 3 อย่าง (1) ล้มล้างระบบทรราชย์ (2) ยุติการลงโทษที่เล็งประชาชน ไม่ใช่ผู้ปกครอง และ (3) รักษารูปลักษณ์ความเป็นระเบียบของโลก มันไม่สามารถมีความขัดแย้งกันในเป้าหมาย 2 อย่างแรกในระหว่างคนดี และการเข้าถึงเป้าหมายก็จะเป็นกาลแห่งความยินดี [...] เป้าหมายที่สองน่าจะถึงได้อย่างแน่นอน และเป้าหมายแรกด้วย โดยไม่บ่อนทำลายเป้าหมายที่สาม รัฐบาลของบุชประกาศอย่างเปิดเผยถึงความตั้งใจจะรื้อระเบียบโลกที่เหลือและควบคุมโลกโดยใช้กำลัง โดยมีอิรักเป็นจานเพาะเชื้อ ดังที่หนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ เรียกว่า เป็นการสร้างความปกติใหม่[53]

การต่อต้านยิว

ในสัมภาษณ์ปี 2547[47][48][49]และในนิตยสารสำหรับเยาวชนชาวยิว Heeb[50]ผู้สัมภาษณ์ได้ถามว่า "ขอกลับมาที่เรื่องต่อต้านชาวยิวอีกแป๊บหนึ่ง คุณได้เขียนว่า คุณไม่รู้สึกว่าการต่อต้านยิวเป็นปัญหาอีกต่อไป อย่างน้อยก็ในประเทศนี้ (สหรัฐ) เนื่องจากการประยุกต์ใช้ในระดับสถาบันและการกล่าวถึงอย่างลอย ๆ ได้หายไปหมดแล้ว คุณยังเชื่อเช่นนั้นหรือไม่"ชอมสกีได้โต้ตอบกับผู้สัมภาษณ์ว่า

ผมโตขึ้นในสถานการณ์ต่อต้านยิวในสหรัฐอเมริกา เราเป็นครอบครัวยิวเดียวในละแวกบ้านที่โดยมากเป็นคนคริสตังชาวไอริชและเยอรมัน ซึ่งต่อต้านยิวมากและสนับสนุนพวกนาซีพอสมควร สำหรับเด็กชายผู้เยาว์คนหนึ่ง คุณต้องเข้าใจว่านั่นเป็นอย่างไร เมื่อพ่อของผมสามารถซื้อรถมือสองเป็นครั้งแรกในปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 เราได้ขับรถไปยังภูเขาที่อยู่ใกล้ ๆ แล้วผ่านโรงแรมที่บ่งว่า "จำกัด" ซึ่งหมายถึง "ไม่รับยิว" นั่นเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เมื่อผมไปศึกษาที่ฮาร์วาร์ดในทศวรรษ 1950 การต่อต้านยิวหนาเป็นรูปธรรมแทบจะตัดได้ด้วยมีด จริง ๆ แล้ว เหตุผลอย่างหนึ่งทำไม MIT จึงเป็นมหาวิทยาลัยที่ยอดในปัจจุบันก็คือบุคคลเช่น Norbert Wiener (ศาสตราจารย์สาขาคณิตศาสตร์) ไม่สามารถได้งานที่ฮาร์วาร์ด เพราะมีการต่อต้านยิวมากเกินไป ดังนั้น พวกเขาก็เลยมาที่สถาบันวิศวกรรมศาสตร์ที่อยู่ถัดไปในถนน นั่นแหละเป็นการต่อต้านยิว ปัจจุบัน นั่นเป็นปัญหาเล็กน้อยมาก ทุกวันนี้ก็ยังมีคตินิยมเชื้อชาติ แต่เป็นคตินิยมต่อต้านชาวอาหรับที่สุดโต่ง มีศาสตราจารย์ฮาร์วารด์ดีเด่นหลายท่านที่ได้เขียนว่า คนปาเลสไตน์ก็คือคนที่ออกเลือดและเพาะพันธุ์ความทุกข์ยากเพื่อขับพวกยิวลงทะเล และคำพูดเช่นนั้นจัดว่า ยอมรับได้ แต่ถ้าศาสตราจารย์ฮาร์วารด์ดีเด่นบางท่านจะเขียนว่า คนยิวก็คือคนที่ออกเลือดและเพาะพันธุ์ความทุกข์ยากเพื่อขับพวกปาเลสไตน์เข้าไปในทะเลทราย การร้อง (ประท้วง) อย่างเดือดดาลก็จะยิ่งใหญ่มาก ถ้าปัญญาชนชาวยิวที่จัดว่าเป็นผู้นำทางมนุษยนิยมกล่าวว่า อิสราเอลควรจะตั้งถิ่นฐานในเขต Galilee ที่คนน้อยไปหน่อย ซึ่งหมายถึงมีคนอาหรับมากและมีคนยิวน้อย นั่นก็จะจัดว่า ดีเยี่ยม คตินิยมต่อต้านชาวอาหรับแบบรุนแรง แพร่หลายจนกระทั่งเราไม่สังเกตเห็นมัน นั่นแหละเป็นสิ่งที่เราควรจะกังวล มันอยู่ในภาพยนตร์ อยู่ในโฆษณา อยู่ในทุกหนทุกแห่ง ในทางกลับกัน การต่อต้านยิวก็ยังมีอยู่ แต่ว่าเล็กน้อยมาก

การปิดล้อมเศรษฐกิจของคิวบา

พฤติกรรมที่ทำในระหว่างประเทศคล้ายกับพวกมาเฟีย คือ เจ้าพ่อจะไม่อดทนต่อการท้าทายแม้จากเจ้าของร้านเล็ก ๆ[54]

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ชอมสกีเรียกเป้าหมายออกหน้าของสหรัฐเพื่อนำ "ประชาธิปไตยมาให้กับคนคิวบา" ว่าเป็น "การโฆษณาชวนเชื่อที่สามานย์เป็นพิเศษ"ในทัศนคติของเขา การปิดล้อมเศรษฐกิจของคิวบาโดยสหรัฐความจริงได้ถึงเป้าหมายที่ต้องการแล้วตามชอมสกี เป้าหมายก็คือ "ปฏิบัติการก่อการร้ายอย่างเข้มข้นโดยสหรัฐ" และ "สงครามเศรษฐกิจอย่างเหี้ยม" เพื่อสร้าง "ความยากลำบากเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในบรรดาคนคิวบาที่อดอยาก" โดยหวังว่า ความสิ้นหวังจะทำให้ประชาชนล้มล้างระบอบการปกครอง[54]ตามเป้าหมายนี้ ชอมสกีเชื่อว่า นโยบายสหรัฐได้เข้าถึงเป้าจริง ๆ แล้ว คือได้สร้าง "ความทุกข์ยากที่ขมขื่นในบรรดาคนคิวบา กีดขวางพัฒนาการทางเศรษฐกิจ และบั่นทอนความก้าวหน้าไปยังการมีประชาธิปไตยภายในประเทศ"ในทัศนตติของชอมสกี "ภัยคิวบา" จริง ๆ ก็คือพัฒนาการที่ทำสำเร็จอย่างเป็นอิสระ ซึ่งอาจดลใจให้ประเทศอื่น ๆ ที่มีปัญหาเดียวกันเลือกไปตามทางเดียวกัน ดังนั้น จึงเป็นเหตุทำ "ระบอบการครอบงำของสหรัฐ" ให้หลุดลุ่ย[54]

การกดขี่ชาวเคิร์ดของประเทศตุรกี

ในคริสต์ทศวรรษ 1990 เป็นประชาชนชาวเคิร์ดในตุรกีที่เป็นทุกข์เพราะการกดขี่แบบเหี้ยมโหดที่สุด คนเป็นหมื่นโดนสังหาร หมู่บ้านและเมืองเป็นพัน ๆ ถูกทำลาย คนเป็นล้าน ๆ ถูกขับออกจากแผ่นดินและบ้านโดยอาศัยความป่าเถื่อนและทรมานกรรมที่น่าขยะแขยง รัฐบาลของคลินตันได้ให้การสนับสนุนที่ขาดไม่ได้โดยตลอดโดยให้วิธีการทำลายและสังหารแก่ตุรกีอย่างมือเติบ ในปี 2540 เพียงปีเดียว คลินตันได้ส่งอาวุธให้กับตุรกีมากกว่าส่งให้แก่พันธมิตรสำคัญตลอดสงครามเย็นรวมกันนับจนถึงจุดเริ่มปฏิบัติการต่อต้านกบฏ ตุรกีได้กลายเป็นผู้รับอาวุธสหรัฐชั้นแนวหน้านอกเหนือไปจากอิสราเอลและอียิปต์ ซึ่งจัดอยู่ในคนละประเภทกัน คลินตันได้ให้อาวุธ 80% แก่ตุรกี ทำการสุดสามารถเพื่อให้มั่นใจว่าความรุนแรงของตุรกีจะสำเร็จผล การสื่อข่าวที่แทบไม่มีเป็นส่วนสำคัญต่อความพยายามนี้—  โนม ชอมสกี ในวันที่ 9 สิงหาคม 2551[55]

ชอมสกีตำหนินโยบายของตุรกีเกี่ยวกับประชาชนชาวเคิร์ดในตุรกีอย่างรุนแรง ในขณะที่ประณามการช่วยเหลือทางการทหารที่สหรัฐมอบให้ตุรกีชอมสกีกล่าวว่า การช่วยเหลือดังว่าทำให้ตุรกีสามารถปฏิบัติการ "ก่อการร้ายที่สนับสนุนโดยสหรัฐ" ในตุรกีตะวันออกเฉียงใต้ได้ซึ่งชอมสกีเชื่อว่า "จัดเป็นอาชญากรรมที่แย่ที่สุดเหตุการณ์หนึ่งในทศวรรษ 1990 อันเป็นช่วงสยองขวัญ (อยู่แล้ว)" โดยมี "คนเป็นหมื่น ๆ เสียชีวิต" และ "การทรมานที่ป่าเถื่อนทุกรูปแบบที่จะจินตนาการได้"[56]

กลุ่มปัญญาชน

ชอมสกีบางครั้งตำหนินักวิชาการและกลุ่มปัญญาชนอย่างไม่เกรงใจแม้ว่าทัศนคติของเขาปกติก็ขัดแย้งกับทัศนคติคนอื่นเป็นรายบุคคล ๆ อยู่แล้ว แต่เขาก็ได้ประณามปัญญาชนกลุ่มย่อย ๆ ที่เขามองว่า ล้มเหลวอย่างเป็นระบบชอมสกีเห็นปัญหากว้าง ๆ สองอย่างเกี่ยวกับปัญญาชนที่เป็นนักวิชาการ คือ

  1. ปฏิบัติการโดยมากเหมือนคนอีกชนชั้นหนึ่ง และแยกตัวเองจากคนอื่น ๆ โดยใช้ภาษาที่คนที่ไม่ใช่นักวิชาการจะเข้าใจไม่ได้ โดยมีผลกีดกันคนอื่นอย่างตั้งใจไม่มากก็น้อย ในทัศนคติของเขา มีเหตุผลน้อยมากที่จะเชื่อว่า นักวิชาการคิดลึกซึ้งกว่าคนอื่น ๆ ในสังคม และการยกป้ายให้เป็น "ปัญญาชน (intellectual)" บดบังความจริงเกี่ยวกับการแบ่งแรงงานทางปัญญา "คำเหล่านี้จริง ๆ ตลกดี คือ การเป็น 'ปัญญาชน' แทบไม่เกี่ยวกับการทำงานด้วยปัญญา นี่เป็นเรื่องคนละเรื่อง เป็นไปได้ว่า คนมีฝีมือจำนวนมาก เช่น ช่างซ่อมรถเป็นต้น อาจจะทำงานทางสติปัญญาเท่ากับหรือมากกว่าบุคคลในมหาวิทยาลัย มีหลาย ๆ เรื่องในมหาวิทยาลัยที่สิ่งที่เรียกว่า งานวิชาการ เป็นเพียงแค่งานเสมียน และผมไม่คิดว่างานเสมียนจะยากกว่าการซ่อมเครื่องยนต์รถ และจริง ๆ แล้ว ผมคิดตรงกันข้าม ดังนั้น ถ้าคำว่า ปัญญาชน หมายถึงคนที่ทำงานด้วยสติปัญญา นั่นก็จะหมายบุคคลทั่วทั้งสังคม"[57]
  2. สิ่งที่ตามมาของบทตั้งแรกนี้ก็คือ อภิสิทธิ์ที่ปัญญาชนได้ ทำให้บุคคลเหล่านั้นสุดโต่งทางคตินิยมและเชื่อฟังง่ายกว่าคนอื่น ๆ ในสังคม คือ "โดยคำว่า ปัญญาชน ถ้าคุณหมายถึงคนชนชั้นพิเศษที่มีหน้าที่กำหนดความคิด วางกรอบไอเดียเพื่อประโยชน์แก่คนมีอำนาจ บอกทุก ๆ คนว่าตนควรจะเชื่ออะไร เป็นต้น งั้นใช่ นั่นต่างกัน คนพวกนี้เรียกว่า 'ปัญญาชน' แต่เป็นเหมือนพระทางโลกมากกว่า คือมีหน้าที่เทิดทูนความจริงอันเป็นความเชื่อของสังคม และประชาชนจึง 'ควร' ต่อต้านปัญญาชนเพราะเหตุนั้น ผมคิดว่านั่นเป็นปฏิกิริยาที่มีประโยชน์"[57]

เมื่อถามว่ามีทฤษฎีอะไรไหมที่เขารู้สึกว่าสามารถเป็นมูลฐานทางปัญญาเพื่อท้าทายอภิมหาอำนาจผู้ครองโลกเขาก็ตอบว่า "ถ้ามีกลุ่มทฤษฎีที่ตรวจสอบและยืนยันดีแล้ว และสามารถประยุกต์ใช้กับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือกับการแก้ปัญหาความขัดแย้งทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ เรื่องนี้ได้เก็บไว้เป็นความลับได้ดีเยี่ยม" แม้ว่าจะมี "การเสแสร้งที่เป็นวิทยาศาสตร์เทียม"ดังนั้น ความชอบใจทั่วไปของชอมสกีก็คือ การใช้ภาษาธรรมดาเมื่อคุยกับผู้ฟังที่ไม่ใช่นักวิชาการ

บริบทของปัญญาชนชาวอเมริกันเป็นจุดสนใจในเรียงความ ภาระหน้าที่ของปัญญาชน (The Responsibility of Intellectuals) ของเขา ซึ่งมีผลยกชอมสกีให้เป็นนักปรัชญาการเมืองชั้นแนวหน้าคนหนึ่งในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20คำตำหนิอย่างครอบคลุมของเขาต่อปัญญาชนแบบใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่สองที่เกิดในสหรัฐอเมริกาเป็นประเด็นในหนังสือ อำนาจอเมริกันและพวกขุนนางใหม่ (American Power and the New Mandarins)[58]ซึ่งเขาอธิบายว่า ปัญญาชนไม่ทำหน้าที่ท้าทายความคิดเห็นที่ได้รับแต่ทำหน้าที่เป็นขุนนางใหม่ (new Mandarin) ที่เขาเห็นว่ามีส่วนรับผิดชอบต่อสงครามเวียดนาม เป็นผู้แก้ตัวให้กับระบอบจักรวรรดินิยมอเมริกันเขาเขียนว่า คตินิยมของพวกเขาแสดง

แนวคิดแบบข้าราชการพลเรือนสมัยอาณานิคม ที่ถูกโน้มน้าวเพราะความกรุณาปรานีของประเทศแม่ และเพราะความถูกต้องทางทัศนคติของประเทศเกี่ยวกับระเบียบโลก โดยเชื่อว่า ตนเข้าใจปัญหาที่แท้จริงของคนป่าเถื่อนที่ตนต้องจัดสรรสวัสดิการให้

ชอมสกีดูถูกความน่าเชื่อถือของคตินิยมแบบแนวคิดหลังยุคนวนิยมและ poststructuralismโดยเฉพาะก็คือเขาได้วิพากษ์วิจารณ์กลุ่มปัญญาชนในกรุงปารีสข้อปฏิเสธต่อไปนี้อาจจัดได้ว่าเป็นตัวบ่งชี้ คือ "ผมจะไม่พูดคำนี้ถ้าไม่ได้ถามถึงความเห็นของผมโดยตรง และถ้าขอให้ผมแสดงหลักฐาน ผมก็จะตอบว่าผมไม่คิดว่ามันสมคุณค่าเวลาที่จะตอบ"ความไร้ความสนใจของชอมสกีมาจากสิ่งที่เขาเห็นว่า เป็นการรวมภาษาที่ฟังได้ยากบวกกับเรื่องที่ไม่มีคุณค่าอะไรในโลก โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับนักวิชาการในปารีส"บางครั้งมันกลายเป็นเรื่องตลก เช่น ในบทความหลังยุคนวนิยม โดยเฉพาะแถว ๆ ปารีส ซึ่งเดี๋ยวนี้กลายเป็นเรื่องการ์ตูน คือเป็นเรื่องที่ไร้สาระ ถ้าพวกเขาพยายามถอดรหัสว่าอะไรเป็นความหมายจริง ๆ ของมัน (คือ) ความหมายอะไร ๆ ที่คุณสามารถอธิบายต่อเด็กอายุ 8 ขวบ (ก็จะพบว่า) ไม่มีอะไรที่นั่น"[59]ปัญหานี้แย่ยิ่งขึ้นเพราะความสนใจของสื่อฝรั่งเศสต่อนักวิชาการ คือ "ในประเทศฝรั่งเศส ถ้าคุณเป็นส่วนของอภิสิทธิปัญญาชนและคุณไอ ก็จะมีข่าวพาดหน้าหนังสือพิมพ์เลอมงด์ ซึ่งเป็นเหตุผลอันหนึ่งที่วัฒนธรรมปัญญาชนของฝรั่งเศสจึงน่าหัวเราะมาก มันเหมือนกับฮอลลีวูดเลย"[57]

ชอมสกีเคยปรากฏในรายการโทรทัศน์ดัตช์พร้อมกับปัญญาชนชาวฝรั่งเศสมีแชล ฟูโก ในปี 2514[60]และชอมสกีได้เขียนเกี่ยวกับฟูโกไว้ว่า

... ถ้าพยายามพอ บุคคลจะสามารถสกัดจากวรรณกรรมของเขา ความเข้าใจและข้อสังเกตที่น่าสนใจ โดยปลอกเอาโครงสร้างความสับสนที่จำเป็นเพื่อให้ได้ความน่านับถือในโลกอันแปลกประหลาดของปัญญาชน ซึ่งมีรูปแบบสุดโต่งในวัฒนธรรมอันพิกลของปารีสหลังสงคราม ฟูโกแปลกกว่าปัญญาชนปารีสอื่น ๆ ตรงที่ว่า ยังมีอะไรเหลือหลังจากปลอกเอานี่ออกแล้ว[61]

สงครามในศรีลังกา

ชอมสกีสนับสนุนสิทธิชาวทมิฬเพื่อกำหนดการปกครองด้วยตนเองในเขตทมิฬอีแลม ซึ่งเป็นบ้านเกิดชาวทมิฬในศรีลังกาด้านตะวันออกเฉียงเหนือในสัมภาษณ์เดือนกุมภาพันธ์ 2552 เขากล่าวถึงการต่อสู้ดิ้นรนของชาวทมิฬว่า

ตัวอย่างเช่น บางส่วนของยุโรปก็กำลังดำเนินการเพื่อการปกครองแบบสหพันธรัฐมากขึ้น เช่น แคว้นกาตาลุญญาในสเปนปัจจุบันมีอิสระในการปกครองตัวเองในระดับสูงภายในรัฐสเปน แคว้นบาสก์ก็มีอิสระด้วย ส่วนในอังกฤษ เวลส์และสกอตแลนด์แห่งสหราชอาณาจักรกำลังดำเนินการไปสู่การปกครองตนเองและกำหนดการปกครองด้วยตนเอง และผมคิดว่า มีพัฒนาการเยี่ยงนี้ทั่วยุโรป แม้ว่าจะมีทั้งส่วนดีและส่วนเสีย แต่โดยทั่วไป ผมคิดว่าเป็นพัฒนาการที่ดี คือ คนมีความสนใจ พื้นเพทางวัฒนธรรม ความเป็นห่วงกังวลที่ต่าง ๆ กัน และควรมีการจัดการพิเศษเพื่อให้พวกเขาทำตามความสนใจและความกังวลของตนโดยอยู่อย่างสามัคคีกับผู้อื่น[62]

ในคำแถลงวิกฤติการณ์ในศรีลังกาที่ยื่นในเดือนกันยายน 2552 ชอมสกีเป็นหนึ่งในผู้ลงลายเซ็นที่ร้องขอให้

  • สามารถเข้าถึงค่ายกักกันคนทมิฬได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย
  • เอาใจใส่กฎหมายระหว่างประเทศในเรื่องเชลยศึกและเสรีภาพของสื่อ
  • ประณามการเลือกปฏิบัติต่อคนทมิฬของรัฐตั้งแต่ได้อิสรภาพจากอังกฤษ
  • กระตุ้นให้ประเทศต่าง ๆ สนับสนุนและอำนวย

การโจมตีคนทมิฬครั้งใหญ่ในเขต Vanni ปี 2552 มีผลเป็นความตายของพลเรือนทมิฬอย่างน้อย 20,000 คนในเวลา 5 เดือน ภายใต้ความห่วงใยจากทั่วโลกว่า อาชญากรรมสงครามกำลังเกิดขึ้น[64]ในการอภิปรายปี 2548 ที่สหประชาชาติ (UN) ในเรื่อง "ความรับผิดชอบเพื่อป้องกัน (Responsibility to Protect, ตัวย่อ R2P)" อันเป็นหลักที่ตั้งขึ้นโดย UN ชอมสกีได้ตอบคำถามเกี่ยวกับคำพูดของหัวหน้าเก่าของหน่วยกิจการทางมนุษยธรรม (Humanitarian Affairs) ของ UN ผู้กล่าวว่า R2P เป็นความล้มเหลวในศรีลังกาว่า[65]

... สิ่งที่เกิดในศรีลังกาเป็นปฏิบัติการโหดเหี้ยมเหมือนในประเทศรวันดา โดยมีขนาดที่ต่างกัน ซึ่งประเทศตะวันตกไม่สนใจ มีสัญญาณเตือนล่วงหน้าก่อนมากมาย การสู้รบเช่นนี้ได้ดำเนินเป็นไปปี ๆ เป็นทศวรรษ ๆ มีอะไรมากมายที่สามารถทำเพื่อป้องกันมันได้ แต่ก็ไม่มีความสนใจที่เพียงพอ[65]

โทษประหาร

ชอมสกีเป็นผู้สนับสนุนต่อต้านโทษประหารอย่างเปิดเผยเมื่อถามถึงความเห็นเกี่ยวกับโทษประหารในหนังสือ ความลับ เรื่องโกหก และประชาธิปไตย (Secrets, Lies, and Democracy) เขาได้กล่าวว่า

มันเป็นอาชญากรรมอย่างหนึ่ง ผมเห็นด้วยกับแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลในเรื่องนั้น และจริง ๆ กับประเทศเกือบทั่วโลก รัฐไม่มีสิทธิ์ในการเอาชีวิตประชาชน[66]

เขาได้ออกความเห็นในการใช้โทษประหารในรัฐเท็กซัสและอื่น ๆ ในวันที่ 26 สิงหาคม 2554 เขาก็กล่าวต่อต้านการประหารนายสตีเวน วูดส์ ในรัฐเท็กซัส ว่า

ผมคิดว่า โทษประหารเป็นอาชญากรรมไม่ว่าจะในสถานการณ์ไหน และเป็นเรื่องแย่เป็นพิเศษในคดีของสตีเวน วูดส์ ผมคัดค้านการประหารนายสตีเวน วูดส์ ในวันที่ 13 กันยายน 2554 อย่างหัวชนฝา[67]

ลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร

ชอมสกีได้ตำหนิกฎหมายลิขสิทธิ์และสิทธิบัตรในสัมภาษณ์ปี 2552 เขากล่าวถึงลิขสิทธิ์ว่า

มันมีวิธีที่ดีกว่า

ยกตัวอย่างเช่น ในสังคมประชาธิปไตยที่เสรี ควรจะมีการรับผิดชอบที่ตกลงกันอย่างประชาธิปไตยเพื่อดำรงการสนับสนุนที่เพียงพอต่อศิลป์สร้างสรรค์ เหมือนกับที่มีต่อวิทยาศาสตร์ถ้าทำเช่นนี้ นักศิลป์ก็จะไม่จำเป็นต้องได้ลิขสิทธิ์เพื่อจะดำรงชีวิตอยู่ได้[68]

เกี่ยวกับสิทธิบัตร เขากล่าวว่า

ถ้าระบบสิทธิบัตรมีในคริสต์ศตวรรษที่ 18, 19, และแม้แต่ตลอดถึง 20 ต้น ๆ สหรัฐอเมริกาและอังกฤษจะไม่เป็นประเทศที่ร่ำรวย ประเทศที่พัฒนาแล้ว (เพราะ) พวกเขาได้พัฒนาอย่างสำคัญโดยวิธีที่ปัจจุบันเรียกว่า การละเมิดสิทธิ[68]

MIT และการประท้วงของนักศึกษา

สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) เป็นศูนย์วิจัยสำคัญสำหรับเทคโนโลยีการทหารสำหรับสหรัฐแม้งานของชอมสกีเกี่ยวกับภาษาจะไม่สามารถใช้ในการทหารได้ แต่เขาก็กล่าวว่า "MIT เป็นมหาวิทยาลัยที่อาศัยเพนตากอนและผมก็ได้อยู่ในแล็บที่ได้เงินทุนจากทหาร"[69][70]แม้ว่าจะเก็บเงียบเรื่องทัศนคติต่อต้านทหารของเขาในช่วงต้น ๆ ของอาชีพ ชอมสกีก็ได้ออกความเห็นมากขึ้นหลังจากที่สงครามเวียดนามรุนแรงขึ้นยกตัวอย่างเช่น ในปี 2511 เขาได้สนับสนุนความพยายามของนักศึกษา MIT เพื่อให้ที่หลบซ่อนแก่คนหนีทหารในเขตวิทยาลัย[71][72]เขายังได้ให้เล็กเช่อร์เกี่ยวกับการเมืองแบบสุดโต่งอีกด้วยในช่วงเวลานี้ คณะต่าง ๆ ของ MIT กำลังทำงานวิจัยเกี่ยวกับเฮลิคอปเตอร์ สมาร์ทบอมบ์ เรดาร์ และเทคนิคต่อต้านกบฏเพื่อสงครามเวียดนาม[73][74][75]

นักวิทยาศาสตร์การทหารที่เป็นผู้ว่าจ้างชอมสกีที่ MIT คือ ศ. เจอโรม วีสเนอร์ ยังเป็นผู้รวบรวมกลุ่มนักวิทยาศาสตร์จาก MIT และที่อื่น ๆ เพื่อสร้างกำแพงทุ่นระเบิดและระเบิดลูกปรายที่กั้นเวียดนามเหนือจากใต้[76][77][78]โดยเป็นผู้ปรึกษารัฐบาลระดับสูงสุดเกี่ยวกับนโยบายสงครามนิวเคลียร์ ศ. วีสเนอร์ก่อนหน้านี้ก็ได้นำงานวิจัยขีปนาวุธทอดตัวติดเรือดำน้ำ (SLBM) คือ Polaris มาให้ทำที่ MIT และดังที่ชอมสกีกล่าว คือ "เทคโนโลยีระบบนำวิถีขีปนาวุธจำนวนมากพัฒนาขึ้นที่เขตวิทยาลัย MIT เอง"[79][80][81]และได้ให้รายละเอียดว่า "MIT ได้เงินวิจัยจากเดอะเพนตากอนประมาณ 90% ในช่วงนั้นและผมเองก็ได้อยู่ในท่ามกลางสิ่งแวดล้อมเช่นนั้นคือ ผมอยู่ในแล็บการทหารซึ่งก็คือ Research Laboratory for Electronics"[82]

ทัศนคติต่อเงินทุนที่ MIT ได้ ชอมสกีได้กล่าวถึงในจดหมายที่ตีพิมพ์สองฉบับในปี 2510ในฉบับแรก เขาเขียนว่า เขาได้ "คิดโดยไม่น้อยในเรื่อง ... การลาออกจาก MIT ซึ่งยิ่งกว่ามหาวิทยาลัยอื่น ๆ สัมพันธ์กับปฏิบัติการของกระทรวงกลาโหม (ซึ่งตามชื่ออังกฤษแปลตรง ๆ ได้ว่า กระทรวง 'การป้องกัน')"และว่า "การมีส่วนร่วมของ MIT ในปฏิบัติการเพื่อชัยชนะในสงคราม (เวียดนาม) เป็นทั้งโศกนาฏกรรมและเรื่องแก้ตัวไม่ได้"ในฉบับที่สองที่เขียนเพื่อทำฉบับแรกให้ชัดเจน ชอมสกีกล่าวว่า "MIT ในฐานะสถาบันไม่มีส่วนร่วมในปฏิบัติการเพื่อชัยชนะในสงครามแต่ก็เหมือนกับที่อื่น ๆ บุคคลต่าง ๆ ที่ MIT มีส่วนรวมโดยตรง และนั่นเป็นสิ่งที่ผมได้หมายถึง"[83][84][85]

โดยปี 2512 นักศึกษาปฏิบัติการที่ MIT ก็กำลังรณรงค์อย่างขมีขมันเพื่อ "ยุติการวิจัยทางสงคราม" ที่ MIT[86]แม้ชอมสกีจะเห็นใจนักศึกษา แต่ก็แย้งว่า การทำงานวิจัยทางการทหารในเขตวิทยาลัยก็ยังดีที่สุด โดยเสนอว่า ควรจะทำจำกัดอยู่ในสิ่งที่เขาเรียกว่า "ระบบที่มีลักษณะป้องกันตัวหรือเป็นตัวขัดขวางเพียงอย่างเดียว"[87][88][89]ประธานนักศึกษาในขณะนั้นได้กล่าวถึงจุดยืนนี้ว่า เท่ากับ "อนุรักษ์งานวิจัยทางสงครามโดยแก้ไขเล็กน้อย"[88]

ในช่วงเวลานี้ MIT มีนักศึกษา 6 คนที่ถูกตัดสินจำคุกโดยที่ชอมสกีกล่าวว่า นักศึกษาต้องทนทุกข์กับสิ่ง "ที่ไม่ควรเกิดขึ้น"แต่ว่า เขาก็ยังกล่าวถึง MIT ว่า "มีเสรีภาพและซื่อสัตย์มากที่สุดและมีความสัมพันธ์ดีที่สุดระหว่างคณะอาจารย์กับนักศึกษาในบรรดา...ที่มีประวัติดีในเรื่องเสรีภาพพลเมือง"[90][91]ความแตกต่างระหว่างชอมสกีกับนักศึกษาผู้ปฏิบัติการในช่วงเวลานี้เป็น "ความขัดแย้งพอสมควร"เขากล่าวถึงการจลาจลในเขตวิทยาลัยสหรัฐต่าง ๆ ว่า "โดยมากหลงผิด" และไม่ประทับใจกับการจลาจลของนักศึกษาในเดือนพฤษภาคม 2511 ที่กรุงปารีสโดยกล่าวว่า "ผมแทบไม่ได้สนใจสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในกรุงปารีสดังที่คุณเห็นได้จากสิ่งที่ผมเขียน และนั่นสมควร ตามที่ผมคิด"[92]ในทางตรงกันข้าม เขาก็ยังรู้สึกขอบคุณต่อนักศึกษาในฐานะยกปัญหาของสงครามเวียดนาม

การตีความเฉพาะของชอมสกีเกี่ยวกับเสรีภาพทางวิชาการ ทำให้เขาสนับสนุนนักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการทหารมากกว่า แม้ว่าเขาจะไม่เห็นด้วยกับการกระทำของพวกเขายกตัวอย่างเช่น ในปี 2512 เมื่อเขาได้ยินว่าวอลต์ รอสทาว ผู้เป็นสถาปนิกหลักของสงครามเวียดนามคนหนึ่ง ต้องการจะกลับมาทำงานที่มหาวิทยาลัย ชอมสกีขู่ว่าจะ "ประท้วงอย่างเป็นสาธารณะ" ถ้ารอสทาว "ถูกปฏิเสธไม่ให้ตำแหน่งที่ MIT"ในปี 2532 ชอมสกีสนับสนุนผู้ให้คำปรึกษาแก่เพนตากอนเป็นระยะเวลานานคือ จอห์น ดิวช์ โดยเป็นผู้สมัครเป็นประธานกรรมการบริหาร MITเมื่อดิวช์ต่อมากลายเป็นผู้อำนวยการของสำนักข่าวกรองกลาง (CIA) หนังสือพิมพ์ เดอะนิวยอร์กไทมส์ อ้างคำของชอมสกีว่า "เขามีความซื่อสัตย์และความซื่อตรงมากกว่าทุกคนที่ผมเคยพบในชีวิตนักวิชาการ หรือในชีวิตอื่น ๆถ้าต้องมีใครดำเนินการ CIA ผมก็ดีใจว่ามันเป็นเขา"[93][94][95]

แหล่งที่มา

WikiPedia: มุมมองทางการเมืองของโนม ชอมสกี http://argumentsworthhaving.com/2014/03/09/cambodi... http://www.brightestyoungthings.com/articles/the-s... http://www.columbiaspectator.com/2009/12/04/chomsk... http://video.google.com/videoplay?docid=2414558054... http://video.google.com/videoplay?docid=5730066521... http://www.heebmagazine.com/articles/view/54 http://www.huffingtonpost.com/2010/05/17/noam-chom... http://www.imdb.com/name/nm0159008/ http://www.montrealmirror.com/2005/102005/watn8.ht... http://www.nybooks.com/articles/10869